วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

สิทธิในการตายกับการยุติการรักษา



เหตุควรฆ่าใครในโลกไม่มี

ในทางพุทธศาสนา  การฆ่าสัตว์เป็นบาป เป็นอกุศลกรรมในอกุศลกรรมบถ  
ในทางกฎหมาย  การฆ่าผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  ๒๘๘ 
การตัดชีวิตผู้อื่นย่อมไม่อาจจะกระทำได้ด้วยประการทั้งปวง  แม้การุณยฆาตก็ไม่อาจจะกระทำได้

สืบเนื่องจาก  พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ๒๕๕๐ บัญญัติไว้ในมาตรา  ๑๒

มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไป เพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การ ดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่ง แล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง
จนถึงมีการออก กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. ๒๕๕๓
ก็ไม่ได้หมายความว่า  การฆ่าด้วยความกรุณาหรือการุณยฆาตจะเกิดขึ้นในประเทศไทย  ในต่างประเทศ  เช่น  ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กฎหมายเปิดช่องให้พิจารณาได้ว่า แพทย์สามารถกระทำการุณยฆาตได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ตราบใดที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าไม่มีมูลเหตุ
ที่ จงใจท าให้ผู้อื่นตายและในประเทศเนเธอร์แลนด์ออกกฎหมายรองรับ การุณยฆาต ตั้งแต่ปี 2539
ในประเทศออสเตรเลีย การุณยฆาตกระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยใช้
โปรแกรมสำเร็จรูป death-by–laptop ประกอบด้วย สายยางต่อกับเข็มฉีดยาที่บรรจุยาระงับความรู้สึก เช่น barbiturate ที่ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ  อุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การยุติการรักษาคือการหยุดการรักษาโดยวิธีการทางการแพทย์ เพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วยต่อไป  และผู้ป่วยจะถึงแก่ความตายในที่สุด   การยุติการรักษาดังกล่าวจึงไม่ใช่  “การุณยฆาต” ตามความหมายสากล  และไม่เป็นปานาติบาต  ไม่ผิดศีล  ไม่ล่วงในอกุศลกรรมบถ
อย่างไรก็ดี  การที่แพทย์กระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายโดยมิใช่การยุติการรักษาเท่านั้น  แพทย์ยังคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานฆ่าผู้อื่นอยู่ 
การยุติการรักษาจึงมีผลเพียง  แพทย์ไม่มีความผิดตามจริยธรรมการแพทย์ที่จะต้องช่วยชีวิตมนุษย์ จะหยุดหรือปฏิเสธการรักษาไม่ได้เท่านั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น