ก่อนอ่านบทความนี้
ควรบทความนี้เสียก่อน
http://natjar2001law.blogspot.com/2012/03/blog-post.html
http://natjar2001law.blogspot.com/2012/03/blog-post.html
หลักการคิดทุนทรัพย์ มีความจำเป็นที่ต้องศึกษาให้เข้าใจ เพราะในแต่ละคดีที่มีลักษณะการฟ้องคดี เนื้อหาคดีที่ต่างกัน การคิดทุนทรัพย์ย่อมต่างกัน
ฎีกาที่ 1069/39 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล
และให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่พิพาทให้โจทก์ที่ 1 เนื้อที่ประมาณ
71 ตารางวา ในราคาตารางวาละ 250 บาท รวมเป็นเงิน 17,750 บาท
ตามสัญญาจะซื้อจะขาย
และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท โดยเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของที่พิพาทในราคาตารางวาละ 250 บาท
ตามสัญญาจะซื้อจะขายศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลยังไม่ครบถ้วนโดยไม่ได้คำนวณราคาที่พิพาท จึงให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลให้ครบ
ต่อมาได้มีการคำนวณราคาที่พิพาทตารางวาละ 1,000 บาท
รวมเป็นราคาที่พิพาท 71,000 บาท ค่าเสียหายอีก 10,000
บาท รวมเป็น 81,000 บาท
ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้
ดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกา ไม่นำมารวมเป็นทุนทรัพย์
ดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกา ไม่นำมารวมเป็นทุนทรัพย์
ฎีกาที่ 1926/37(ประชุมใหญ่) การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา
จะนำดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 200,000 บาท
นับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้
ฉะนั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
เมื่อจำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทที่โจทก์ขอแบ่งว่าเป็นของจำเลย
การคิดทุนทรัพย์ต้องคิดตามจำนวนที่พิพาทที่จำเลยโต้เถียงกรรมสิทธิ
ฎีกาที่ 6560/38 โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ
บ. จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ
1 ใน 5 ส่วน โดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน
78,000 บาท จำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจําเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้
อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท
ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ฎีกาที่ 1459/39 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งหมดมิใช่ทรัพย์มรดกหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอุทธรณ์ จำเลยย่อมได้รับผลตามข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งคดีจึงเป็นคดีที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามราคาทรัพย์พิพาทคือ
54,000 บาท
โดยไม่แยกทุนทรัพย์ตามที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องเมื่อที่พิพาทมีราคาเกินกว่าห้าหมื่นบาท
จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เปรียบเทียบกับฎีกาที่ 5194/37
ฎีกาที่ 5194/37 โจทก์ทั้ง 5 ฟ้องขอให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้ง 5 เป็นเจ้าของรวม
เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิของตัวเองเฉพาะตัว
แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์เฉพาะของโจทก์แต่ละคนไม่ถือรวม
ฎีกาที่ 3830/37 คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันทำละเมิดในที่ดินของโจทก์ทั้งสามโดยปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้
และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันแต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน
-
ถ้าเป็นหนี้ร่วม
ลูกหนี้หลายคนแบ่งแยกกันไม่ได้ต้องคิดทุนทรัพย์รวมกันหมด
-
หนี้ตามสัญญาประกันผู้ต้องหาหลายฉบับให้คิดทุนทรัพย์แยกกันเป็นรายฉบับ
ฎีกาที่ 2273/26 โจทก์ฟ้องกำหนดทุนทรัพย์ 100,000
บาทโดยจำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว 5 ราย
แยกทำสัญญาเป็นรายฉบับรวม 5 ฉบับ
สำหรับลูกประกันแต่ละรายหากผิดสัญญายอมให้ปรับรายละ 20,000บาททุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ แม้จะปรับรวมกันมาก็ถือว่ากำหนดค่าปรับภายในวงเงินตามสัญญาแต่ละฉบับไม่เกินฉบับละ
20,000 บาท
คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม
ป.ว.พ. ม.224
ฎีกาที่ 2726/28 ในกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยคนเดียวรับผิดชำระเงินกู้ 2
รายมาในคำฟ้องเดียวกัน
โดยแยกทำสัญญากู้เป็น 2 ฉบับ การวินิจฉัยสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจะต้องคำนวณ
โดยรวมทุนทรัพย์ตามสัญญากู้ทั้ง 2 ฉบับในคำฟ้องนั้น
ฎีกาที่ 2833/31 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเล่นแชร์กับโจทก์รวม
3 วง แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าแชร์ ทุนทรัพย์ในคดีต้องแยกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง
-
ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งคิดแยกกัน
ฎีกาที่ 576/40 การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณาฟ้องเดิมและฟ้องแย้งแยกจากกัน
สำหรับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าหากจะนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ
30,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนนั้น
ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 7,000 บาท ก็ตาม
ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเท่านั้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์ปีที่ 3 เดือนละ 2,083 บาท
ที่ดินพิพาทจึงมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,083 บาท
ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว
ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
-
คดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ฎีกาที่ 2995/40 คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 224
วรรคสองนั้น หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่
เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
การที่โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพนั้นเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากัน
จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว ซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง แต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู 180,000
บาท และเรียกค่าทดแทน 200,000 บาทเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วย
จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะที่เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทน
แต่โจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) เฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้น
จะแปลไปถึงกับว่าโจทก์ได้ทิ้งฟ้องหมดทั้งคดีเสียทีเดียวไม่ได้
เพราะคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาล
ส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้ว
เมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย
ฎีกาที่ 5183/30 คดีฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว
ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ฎีกาที่ 6937/39 คำฟ้องโจทก์เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ
4,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แต่ส่วนคำฟ้องแย้งจำเลยอ้างว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการ
เช่าและขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนการเช่า
มิใช่การเรียกร้องเอาทรัพย์สินเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องแยกการพิจารณาการต้องห้ามอุทธรณ์ จำเลยสามารถอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้วเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าได้
แต่อุทธรณ์จำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าไม่ได้ละเมิดต่อโจทก์
โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายนั้น
เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์โดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลย จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ฎีกาที่ 7082/39 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหาย 58,125.25 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า
ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยขับรถประมาทเลินเล่อทั้งสองฝ่าย
แต่ฝ่ายโจทก์ประมาทเลินเล่อมากกว่า จึงให้โจทก์รับผิดค่าเสียหาย 2 ใน 3 ส่วนให้จำเลยรับผิดค่าเสียหาย 1 ใน 3 ส่วน โจทก์ต้องรับผิดเกินกว่าค่าเสียหายของตนอยู่แล้ว
ค่าเสียหายของโจทก์จึงเป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหาย 54,070
บาท แก่โจทก์
จึงเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ที่ต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองต้องชำระเงิน
54,070 บาทแก่โจทก์หรือไม่ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า
ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยประมาทเลินเล่อเท่ากับก็มีอำนาจกำหนดให้ค่าเสียหายของทั้งสองฝ่ายเป็นพับและยกฟ้องแย้งของจำเลยที่
2 ได้แม้ฟ้องแย้งจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เนื่องจากทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน
50,000 บาทก็ตาม
เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน
-
คดีที่มีการขอพิจารณาคดีใหม่ ถ้าศาลมีคำสั่งในการขอฯ
ให้ดูทุนทรัพย์ในคดีเดิมว่าอุทธรณ์คำสั่งได้
หรือไม่
ฎีกาที่ 5801/39 อุทธรณ์ชั้นบังคับคดีในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 224
วรรคสอง
ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
หมายเหตุ
ในกรณีคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ถ้าส่วนอาญาไม่ต้องห้ามส่วนแพ่งต้องถือตามส่วนอาญา
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้แม้ทุนทรัพย์ไม่ถึงก็ตาม
จบสำหรับมาตรา ๒๒๔ แต่เพียงเท่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น