วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเลิกจ้าง และค่าชดเชยการเลิกจ้าง

การเลิกจ้าง การเลิกจ้างคืออะไร และพฤติกรรมอย่างไรเป็นการเลิกจ้าง เมื่อมีการเลิกจ้าง ลูกจ้างจะได้สิทธิอะไรบ้างตามกฎหมาย

ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑

มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน

ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

อธิบาย บทบัญญัตินี้มุ่งคุ้มครองทั้งนายจ้างและลูกจ้างในการเลิกสัญญาจ้างเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดความเสียหาย จากบทมาตรานี้เราสามารถแยกลักษณะการเลิกสัญญาออกได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. ถ้าสัญญาจ้างได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ สัญญาย่อมสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด

ระยะเวลา โดยไม่ต้องบอกเลิก

2. ถ้าสัญญาจ้างได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ การบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด

ระยะเวลาจะกระทำได้ต่อเมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างนั้น หากไม่มีเงื่อนไขให้บอกเลิกสัญญาจ้างได้ก่อนครบกำหนด จะบอกเลิกกันก่อนครบกำหนดไม่ได้หากฝ่ายใดบอกเลิกย่อมถือว่าผิดสัญญาจ้าง ก็อาจจะต้องมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายกันขึ้นได้

3. ถ้าสัญญาจ้างไม่ได้กำหนดเวลาการจ้างไว้ การเลิกย่อมกระทำได้โดยการบอก

กล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยบอกกล่าวหรือในวันถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวนี้เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหน้า แต่ถ้ากำหนดระยะเวลาจ่ายค่าจ้างเกินกว่า 3 เดือน ก็บอกล่วงหน้าเพียง 3 เดือนเท่านั้นพอ เช่นตกลงจ่ายค่าจ้างเป็นรายปี การจ้างในปี 2548 เริ่มเมื่อ 1 มกราคม 2548 สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2548 เมื่อเราไม่อยากจ้างเขาทำงานในปี 49 เราต้องบอกเลิกสัญญาอย่างช้าภายในวันที่ 31 กันยายน2548 ให้มีผลเป็นการสิ้นสุดการจ้างในวันที่ 31 ธันวาคม 2548

4. สำหรับฝ่ายนายจ้าง หากไม่ประสงค์ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป โดยประสงค์ให้ออก

จากงานทันที นายจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาตามข้อ 3 ดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างไปถึงวันที่การเลิกจ้างมีผลแก่ลูกจ้าง เช่น ในการจ่ายค่าจ้างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 นายจ้างต้องการให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีไม่ต้องการให้มาทำงานในเดือนธันวาคมอีก นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเดือนธันวาคมให้แก่ลูกจ้างด้วย แล้วให้ลูกจ้างออกได้ทันที (เรียกว่าค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า คือไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าจ่ายเงินแทนนั่นเอง)

5. นอกจากนั้นแล้ว กรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย

ค่าชดเชยตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด คือตามมาตรา 118 ด้วย เป็นเงินชดเชยต่างหากอีกจำนวนหนึ่งซึ่งกฎหมายบังคับว่าต้องให้ เว้นเสียแต่ว่าลูกจ้างจะกระทำความผิดตามมาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม 118 แต่นายจ้างต้องยกเหตุที่ลูกจ้างกระทำความผิดขึ้นในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างนั้น ถ้าไม่ยกเหตุดังกล่าวขึ้นก็ต้องจ่าย หากไม่จ่ายภายหลังลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในศาลเพื่อปฏิเสธการจ่ายไม่ได้

สรุป นายจ้างควรจะบอกเลิกเป็นหนังสือและระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ด้วย แต่ถ้าลูกจ้างกระทำความผิดบอกเลิกด้วยวาจาได้มีผลเป็นการบอกเลิกเช่นกันและไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ลูกจ้างผิดวันนี้เลิกวันนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามเหตุเลิกจ้างก็ต้องระบุเป็นหนังสืออยู่ดี


พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

ในมาตรา 118 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงพฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไว้ 2 กรณี

1. การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่า

จะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด หมายถึง กรณีที่นายจ้างกระทำการใด ๆ ก็ตามต่อลูกจ้างที่เป็นการแสดงว่านายจ้างมีเจตนาจะไม่ให้ลูกจ้างได้ทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้น เช่น ไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงาน สั่งยามรักษาการณ์ไว้ไม่ให้ลูกจ้างเข้ามาทำงาน ไม่ให้ลูกจ้างประทับบัตรลงเวลาทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย หากนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานแต่ยังคงจ่ายค่าจ้างให้ยังไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง เช่น พักงานระหว่างสอบสวนยังไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

2. กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่

สามารถดำเนินกิจการต่อไป หมายถึง กรณีที่นายจ้างมิได้มีเจตนาที่แท้จริงที่จะไม่จ้างลูกจ้างต่อไปเหมือนกรณีแรก แต่เป็นกรณีที่นายจ้างนั้นไม่มีงานที่จะให้ลูกจ้างทำต่อไปหรือนายจ้างถูกสั่งปิดกิจการโดยไม่มีกำหนด หรือนายจ้างเลิกกิจการเพราะภาวะขาดทุน การยุบแผนก

เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกรณีเช่นนี้แม้ว่านายจ้างยังไม่ได้มีการบอกเลิกลูกจ้าง ถ้าหากนายจ้างไม่มีการจ่ายค่าจ้างก็ต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างด้วย นายจ้างจะอ้างว่ายังไม่ได้บอกเลิกจ้างไม่ได้

ฎีกาที่ 9783/39 จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อรอคดีอาญา ที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราวสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด เพราะเมื่อคดีถึงที่สุดหากโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานเสมือนว่าไม่เคยเลิกจ้างและต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้โจทก์เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองไม่มอบงานให้ทำ การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

ฎีกาที่ 1900/2542 ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. ม. 386 วรรคสอง เมื่อลูกจ้างยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์ในวันที่ 20 ก.พ. 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของลูกจ้างมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออก แม้ต่อมาวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2540 ลูกจ้างได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อนายจ้างขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่หนังสือขอลาออกจากงานของลูกจ้างยังคงมีผลต่อไป การที่ลูกจ้างต้องออกจากงานหาใช่เพราะถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่ นายจ้างย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง


เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมาย จะจ่ายน้อยกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ได้ และต้องจ่ายทันทีที่เลิกจ้าง ผลัดไม่ได้

การจ่ายค่าชดเชย

บทบัญญัติเรื่องการจ่ายค่าชดเชย มีวัตถุประสงค์ในการที่จะคุ้มครองลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดร้ายแรงหรือต้องพ้นจากหน้าที่การงานด้วยความจำเป็นบางประการของนายจ้าง ให้มีเงินไว้ใช้สอยระหว่างหางานทำใหม่

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใดและหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

"ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง


อธิบาย
เมื่อพิจารณาบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างลาออกจากงานไปเอง ทิ้งงานไป หรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย นายจ้างก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้

เงินบำเหน็จ บำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสม เงินกองทุนต่าง ๆ มิใช่เงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ตามกฎหมายเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง แม้เงินจำนวนดังกล่าวจะจ่ายเมื่อการจ้างสิ้นสุดลงก็ตาม ก็ไม่ใช่เงินชดเชยตามความหมายนี้

การคำนวณค่าชดเชย ถือเอาอัตราค่าจ้างขั้นสุดท้ายเป็นฐานแห่งการคำนวณเพื่อให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยในอัตราสูงสุด เพราะอัตราค่าจ้างขั้นสุดท้ายมักเป็นอัตราค่าจ้างที่สูงสุด แต่หากนายจ้างมีเจตนาไม่สุจริต เช่น มีความประสงค์จะเลิกจ้างอยู่แล้ว แต่เกรงว่าจะต้องเสีย

ค่าชดเชยในอัตราสูง จึงเจรจาต่อรองค่าจ้างลงมาให้ต่ำกว่าเดิม แล้วเลิกจ้าง เช่นนี้เห็นว่านาย

จ้างมีเจตนาเลี่ยงอัตราค่าชดเชยที่จะต้องคำนวณตามกฎหมาย กรณีอย่างนี้จะไม่ถืออัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นฐาน แต่ถืออัตราค่าจ้างสูงสุดแทน

สำหรับเวลาในการจ่ายค่าชดเชยนั้น นายจ้างต้องจ่ายทันทีที่เลิกจ้าง หากนายจ้างไม่จ่ายทันทีที่เลิกจ้าง ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้อีกร้อยละสิบห้าต่อปี (มาตรา 9) นับแต่วันที่เลิกจ้างจนกว่าจะจ่ายกันเสร็จสิ้น

ฎีกาที่ 2476/37 ค่าชดเชยเป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จำเลยไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ จึงต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีแก่โจทก์

ฎีกาที่ 2499/37 แม้สัญญาจ้างมีข้อความให้สิทธิผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาได้โดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าตอบแทน แต่ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ผิดแผกแตกต่างไปจากประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 (ปัจจุบันมาตรา 118) ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่อาจใช้บังคับแก่การจ่ายค่าชดเชย

โดยสรุป เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวล่วงหน้าต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๘ และจ่ายทันที จะผัดผ่อนไม่ได้


ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยกรณีการเลิกจ้าง

มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

อธิบาย โดยหลักแล้วหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 แต่หากการเลิกจ้างนั้นเป็นเพราะความผิดของลูกจ้างตามมาตรา 119 (1) -(6) นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างได้ ทั้งนี้ ต้องระวัง ว่าการที่นายจ้างจะยกเหตุที่ลูกจ้างกระทำผิดตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยได้นั้นนายจ้างต้องระบุเหตุเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ตามมาตารา 17 หากนายจ้างไม่ได้ระบุไว้ต่อมาจะยกข้ออ้างตามมาตรา 119 ขึ้นต่อสู้ลูกจ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

20 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3/1/55 22:54

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ29/3/55 15:42

    แสดงวิธีคิดให้หน่อยนะคับ..เป็นวิทยาทาน..ขอบคุณคับ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13/8/55 17:19

    อยากทราบว่าบริษัทสามารถหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าได้หรือไม่ แต่จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายค่ะ
    ทั้งนี้บริษัทแจ้งว่าได้แจ้งล่วงหน้าให้เราทราบแล้วเมื่อวันที่ 6กค.แต่มีผลเลิกจ้างเมื่อ27กค.ที่ผ่านมาค่ะ :(

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ

      ลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ20/8/55 22:34

    ถ้าบริษัทย้ายไปเราไม่ตามไปทำงานด้วยบริษัทต้องจ่ายค่าจ้างตามมาตาร118หรือไม่แล้วพนักงานจะได้ค่าจ้างอย่างไรบ้างคะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538961711&Ntype=120

      ลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ28/8/55 14:32

    สัญญาจ้างของดิฉันเริ่มต้น 1เมษายน 2555 สิ้นสุด 31มีนาคม2556 (ทำงานที่บริษัทนี้ จะครบ 9 ปี วันที่ 31มีนาคม 2556)
    กรณีบริษัทจะเลิกจ้างเนื่องจากมีนโยบายลดพนักงาน กรณีอย่างของดิฉัน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา 118 หรือไม่ค่ะ
    รบกวนด้วยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เริ่ม ๑ เมย.๕๕ จะครบเก้าปีใน ๓๑ มีนา ๕๖ หรือคะ ?

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ29/8/55 15:05

      ขอโทษค่ะเขียนไม่ชัดเจน
      ต่อสัญญาทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ 9 (ครบ 9 ปี ในวันที่ 31มีนาคม 2556 ค่ะ)

      ลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ21/9/55 09:42

    กรณีทำสัญญาจ้างงาน(จ้างที่ปรึกษา) กำหนดเป็นคราวละ 1 ปี โดยสัญญาระบุชัดเจน 1 ม.ค.54 ถึง 31 ธ.ค.54
    ปัจจุบันไม่ได้จ้างต่อ ได้บอกกล่าวด้วยวาจาอย่างเดียว รับทราบและตกลงกันผู้รับจ้างยังทำงานต่อโดยไม่คิดค่าจ้าง
    ณ ตอนนี้มีการเรียกร้องว่าไม่จ่ายค่าจ้างที่ปรึกษาให้ ผู้จ้างมีความผิดหรือไม่อย่างไร

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ26/12/55 14:38

    เลิกจ้างพนักงานมีหนังสือแจ้ง 1 ธ.ค. 55 มีผล 31 ธ.ค. 55 ต้องจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างวันไหนค่ะ ณ สิ้นเดือน หรือวันไหนก็ได้ค่ะ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ2/1/56 00:45

    ขอถามหน่อยน่ะค่ะ กรณีดิฉันทำงานมาเเล้ว4ปี พอมาถึงเดือน กันยา 55นายจ้างคนเก่าเซ้งกิจการ แต่ดิฉันได้ทำงานต่อกับนายจ้างคนใหม่ ต่อมานายจ้าง(คนใหม่) จะปิดกิจการในเดือนกุมภา56 ทีจะถึงนี้ อยากทราบว่าในกรณีนี้ดิฉันจะได้เงินชดเชยกี่เดือนค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ2/1/56 00:47

      เพิ่มเติ่มค่ะ นายจ้างบอกล้วงหน้า 1เดือนน่ะค่ะ

      ลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ2/1/56 10:04

    1. ทำงานไม่ถึง 1 ปี และไม่มีสัญญาจ้างใดๆ แบบเพื่อนพาเข้ามาทำอย่างนี้ถือเป็นการจ้างของบริษัทหรือไม่
    2. ต่อเนื่องจากข้อ 1 บริษัท(จ้างปากเปล่า)บอกเลิกงานก่อนจะจ่ายเงินเดือน 3-5 วัน มีผลที่จะเรียกร้องชดเขยได้หรือไม่ (ไม่มีหนังสือบอกเลิกงาน)

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ8/1/56 14:02

    หน่วยงานเป็นองค์กรมหาชน แบบพิเศษ อยู่ภายใต้ พรบ.กบข.
    เลขาธิการสามารถ ให้พนักงานออกได้ โดยยุบเลิกตำแหน่งงานที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นแล้วได้ ตามระเบียบว่าด้วยการพนักงาน
    พนักงานผู้ถูกให้ออกจะได้รับเงินชดเชยอย่างไร ตามมติของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างขององค์การมหาชน ตามมติ กพร.ในการประชุมครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(กพร.)หรือไม่

    และพนักงานผู้ถูกให้ออกสามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่อย่างไร (จากคำภิพากษาฎีกา 7363/2548)
    และหากต้องการฟ้องร้องต้องดำเนินการอย่างไร ต้องไปร้องที่ศาลปกครองหรือไม่

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ13/1/56 16:55

    อยากทราบคับพอดี ประสบมากับตัวเอง
    คือประมาณว่า นายจ้างไม่ให้ผ่านการทดลองงาน (probation) คือเท่าที่รู้มา กฏหมายกำหนดให้ ทดลองงานอย่างต่ำ 120 วัน แต่นายจ้างผม ให้ผมไม่ผ่านการทดลอง เมื่อทำงานได้ 58 วัน ทั้งที่ไม่มีการตักเตือนเป็นหนังสือ ลายลักษณ์อักษร
    อย่างนี้สามารถแจ้งกรมแรงงานได้หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
  12. ไม่ระบุชื่อ14/1/56 14:37

    การจ้างพนักงานให้ออกโดยที่ชดเชยให้เต็มที่ตามกฎหมายแรงงาน....ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่....และไม่ให้มีช่องโหว่ของกฎหมาบรองรับควรต้องทำยังไงบ้างขอคำตอบด่วนค่ะ...

    ตอบลบ
  13. ไม่ระบุชื่อ20/1/56 16:50

    สวัสดีค่ะ พอดีหนูข้องใจมากเลยอยากจะถามว่า ถ้าในกรณีที่นายจ้างจะให้เราออกจากงานเหตุเพราะจะขายตึก แล้วไม่ได้แจ้งให้เรารู้ล่วงหน้า
    กรณีอย่างนี้เรามีสิทธิที่จะได้ค่าชยเชยไหมค่ะ ทางบริษัทจะให้สิ้นสุดการทำงาน 26 ม.ค.56 นี้แล้วค่ะ หนูทำงานที่นี่มาจะ 2 ปีแล้ว
    แล้วในกรณีที่ยื่นลาออกไปแล้วว่าจะออกเดือนหน้า แต่ทางบริษัทให้ออกเดือนนี้เลยพร้อมแม้บ้าน เรามีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่อย่างไรค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  14. แล้วกรณีของมูลนิธิ เราจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือป่าวคะ

    ตอบลบ
  15. มูลนิธิเราเป็นมูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร และเป็นมูลนิธิเพื่อหาทุนให้เด็กกำพร้า
    และกรณีเลิกจ้าง จะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่คะ? ชอบตอบด่วนคะ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น