วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพระราชทานอภัยโทษ




การอภัยโทษคืออะไร มีที่มาอย่างไร

การอภัยโทษ คือการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระราชา มีมาแต่ก่อนพุทธกาล ในพระไตรปิฎกก็ปรากฎ ในประเทศไทยมีมาเป็นหลายร้อยปี 

แบ่งเป็นการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะรายยกเว้นโทษตาย (โทษประหาร) กับการอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมีเงื่อนไขมากมายกว่านักโทษจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ 

เมื่อการอภัยโทษเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระราชา ผู้ซึ่งขัดขวางการบำเพ็ญกุศลนั้นจึงคือคนบาป เป็นโจรปล้นบุญ เพื่อนสมาชิกบางคนนัทยุติการคบหาทั้งๆ ที่คบกันมานาน เพราะกึ่งมิจฉาทิฏฐิว่าการฆ่าคนผิดแม้บาปก็ยอมรับ และมีเจตนาขัดขวางบุญของผู้อื่นอย่างชัดเจน นัทไม่คบหาคนประเภทนี้

เมื่อการอภัยโทษมีมานานขนาดนี้ แล้วเรา เด็กปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมจะล้มล้างจารีตที่ชอบโดยธรรม และเป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะความไม่พอใจส่วนตัวในคดีเดียว มันถูกหรือ ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมเราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้ เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

ภัททาลิสูตร ม. ม. (๑๖๕)
ตบ. ๑๓ : ๑๖๗ ตท.๑๓ : ๑๔๕
ตอ. MLS. II : ๑๑๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น