มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะได้รับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น
ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่
อธิบาย บุคคลมีความหมายทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ลายมือชื่อ หมายถึงต้องเขียนด้วยลายมือตนเอง การใช้ลายพิมพ์นิ้วมือแม้จะมีพยานลงลายมือชื่อรับรองก็ใช้ไม่ได้ ลายมือชื่อนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อจริงจะลงชื่อเล่นก็ได้เช่น นายสนธยา ลาลายมือชื่อในตั๋วเงินว่า ยา ก็ต้องรับผิดเช่นกัน หรือ ดำ นำตั๋วเงินของแดงมาลงเป็นลายมือชื่อดำ ดำก็ต้องรับผิดตามมาตรา ๙๐๐ เพราะดำลงลายมือชื่อของตนในตั๋ว หรือดำลงลายมือชื่อเป็นชื่อของผู้อื่นดำก็ต้องรับผิดตามมาตรา ๙๐๐ เพราะดำเป็นผู้ลายมือชื่อของตนในตั๋ว ดังนั้นมาตรา ๙๐๐ ถือเป็นหัวใจสำคัญของตั๋วเงินเพราะถ้าหากมีการลงลายมือชื่อเข้าผูกพันตนแล้วอย่างไรเสียก็ต้องรับผิดตามมาตรานี้ (๓๗๘๘/๒๕๒๔ ป)
ฎีกาที่ ๒๔๑๗/๒๕๓๖ การที่จำเลยเขียนคำว่า “แสงรุ้งเรือง” ซึ่งเป็นซื่อร้านของจำเลยที่ ๒ ลงด้านหลังเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ถือได้ว่าจำเลยที่ ๒ เจ้าของร้านเป็นผู้ลงลายมือของตนในเช็ค จึงเป็นการลงลายมือชื่อสลักหลังเช็ค ตามมาตาม ๙๐๐ วรรคแรก ๙๑๙ ๙๘๙ เมื่อเช็คพิพาทเป็นเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือจำเลยที่สองจึงต้องรับผิดในฐานะอาวัลจำเลยที่หนึ่งผู้สั่งจ่ายตามมาตรา ๙๒๑ ๙๔๐ ๙๘๙ วรรคแรก
วรรคท้าย ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่
อธิบาย ลายพิมพ์นิ้วมือที่แม้มีพยานรับรองถูกต้องตามมาตรา ๙ ที่มีผลสมบูรณ์สำหรับนิติกรรมทั่วไปไม่อาจใช้กับตั๋วเงินได้
มาตรา 901 ถ้าบุคคลคนใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน และมิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นย่อมเป็นผู้รับผิดตามความในตั๋วเงินนั้น
อธิบาย การลงลายมือชื่อในตั๋วเงินต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเว้นแต่ได้ระบุไว้ว่าทำแทนใครผู้ที่ต้องรับผิดคือผู้ที่ถูกระบุว่าถูกทำแทน เช่น ดำลงลายมือชื่อดำในตั๋วโดยระบุว่าทำแทนแดง ผู้ที่ต้องรับผิดคือแดงไม่ใช่ดำ เป็นไปตามหลักตัวการตัวแทน
270/20 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คประทับตราห้าง แต่ไม่ได้ระบุว่าทำแทนห้างต้องรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเป็นส่วนตัว
มาตรา 902 ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้น ซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน
อธิบาย คู่สัญญาในตั๋วเงินนั้นมีได้หลายคนเนื่องจากตั๋วเงินนั้นอาจมีการโอนต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นคู่สัญญาบางคนอาจเป็นคู่สัญญาที่มีปัญหา ไม่อาจจะเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย เช่น นิติบุคคลที่มีข้อบังคับไม่ให้ออกตั๋วเงินแล้วยังฝืนออกหรือสลักหลังหรือยุ่งเกี่ยวกับตั๋วเงิน หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผล เช่น เป็นผู้หย่อนความสามารถ กฎหมายบอกว่าตั๋วเงินนั้นไม่เสียไป ผู้ทรงยังคงมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้ที่เป็นคู่สัญญาที่สมบูรณ์ได้
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบรบกวนถามคำถามค่ะ
โจทย์
- 1 ออกตั่วแลกเงนสั่ง 2 ให้ใช้เงินให้แก่ 3 กำหนดสามเดือนนับแต่ได้เห็นตั๋ว 3 จึงนำตั่วไปยื่นแก่ 2 ให้รับรองแต่ก่อนตั๋วถึงกำหนด 3 สลักหลังโอนให้ 4 4สลักหลังโอนให้ 5 5 สลักหลังโอนให้ 6 ครั้งตั๋วถึงกำหนด 6 นำตัวไปยื่นให้ 2 รับรองว่าจะใช้เงินอย่างแน่นอนในกำหนดสามเดือน 2 ไม่รับรอง 6 จะฟ้องผู้ใดได้บ้าง
ก.6 ฟ้อง 1 ผู้สั่งจ่า่ยได้คนเดียว
ข.หกฟ้อง 1 ผู้สั่งจ่าย และ 2 ผู้รับรองให้รับผิดได้
ค.หกฟ้อง 2 ผู้จ่ายได้ แต่ฟ้อง 1 3 4 5 ไม่ได้
ง.หกฟ้อง 1 2 3 4 5 ได้แต่ฟ้อง 2 ไม่ได้
จ.หกฟ้องใครรับผิดไม่ได้
หนังสือเฉลยข้อ ค. ค่ะ แต่พราวว่า 1 ผิดฐานผู้สั่งจ่าย(900+914) 3-5 ก็ผิดฐานผู้สลักหลัง
แสดงว่าความเป็นไปได้น่าจะตอบ ข.ใช่ไหมค่ะ งง ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบผู้จ่ายถ้ารับรองตั๋วก็จะมีความผิดฐานผู้รับรองตาม ปพพ.937 รบกวนถามค่ะ
A ออกตั่วแลกเงินสั่ง B ให้จ่ายเงินให้แก่ C C นำตั๋วยื่นให้ B ผู้จ่ายรับรองและสลักหลังโอนให้ D สลักหลังโอนให้ E E ยื่นตั๋วใหฺ้ B ใช้เงิน B ปฏิเสธ
พราวถามว่า การที่ B รับรองตั๋็วให้ C จะมีผลผู้พันรับผิดในฐานะผู้รับรองตั๋วต่อไปถึง E ใช่ไหมค่ะ
มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะได้รับ ผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น
ตอบลบมาตรา 937 ผู้จ่ายได้ทำการรับรองตั๋วแลกเงินแล้วย่อมต้องผูกพัน ในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตน
การที่ผู้จ่ายลงลายมือชื่อรับรองตั๋ว ผู้จ่ายย่อมต้องผูกพันตามเนื้อความในตั๋วต่อผู้ทรงจ้า :-)
ตอบลบคำตอบนี้ไม่มีข้อถูกเลยค่ะ ฟ้องได้ทุกคนค่ะ เพราะเป็นการโอนโดยสลักหลังโอนทั้งหมด และผู้จ่ายได้รับรองแล้วด้วยค่ะ
ตอบลบแจ่มชัด ขอบคุณมากคุ่ะ
ตอบลบโจทย์ได้กำหนด เปนชนิดระบุชื่อ หรือผู้ถือ ไหมครับ ถ้าเปนชนิดระบุชื่อ จะต้องมีการสลักหลัง+ส่งมอบ ถ้าในโจทย์เป็น ระบุชื่อ ก็ถือว่ามีการโอนต่อมาไม่ขาดสาย หก ถือเปนผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม905 และอิกอย่างคือ ผู้จ่ายได้มีการรับรอง แล้ว ย่อมต้องรับผิดตามมาตรา931(ด้านหน้าตั๋วด้วยนะ) ประกอบ 937 และ หก สามารถฟ้อง ร้องเรียกให้ 1 2 3 4 5 ใช้เงิน ให้แก่ หกได้ครับ
ตอบลบ