วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การชำระกฎหมายในรัชกาลที่ ๑


บทความนี้ ได้เขียนขึ้น เพื่อเป็นบทเรียนแก่นักศึกษาที่ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายในเหตุของการชำระกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ และข้าพเจ้าได้แสดงการบรรยายโดยละเอียดในชั้นเรียน มิได้เพียงบรรยายเฉพาะคดีอำแดงป้อมกับนายบุญศรีอันเป็นปฐมเหตุเท่านั้น ข้าพเจ้าได้นำประกาศพระราชปรารภมาให้นักศึกษาได้ศึกษาทีละถ้อยกระทงคำของพระราชปรารภอย่างละเอียด จึงขอให้น้ำหนักเนื้อหานี้อยู่ที่กฎหมายปากเสียเป็นส่วนใหญ่อะไรคือกฎหมายปากกฎหมายที่ใช้ในสมัยกรุงธนบุรีก็ดี กรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๑ ก็ดี ล้วนเป็นกฎหมายที่มีการบัญญัติแต่ครั้งกรุงศรีอยุทธยา โดยผู้ที่จะเป็นผู้บัญญัติกฎหมายนั้น ต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น คำสั่งของกษัตริย์จึงคือกฎหมาย การบัญญัติกฎหมายเป็นทางหนึ่งในการแสดงแสนยานุภาพของพระองค์ เป็นธรรมดาที่ผู้ปกครองจะต้องออกกฎระเบียบมาบังคับแก่ผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองเพื่อแสดงอำนาจจึงไม่น่าแปลกใจที่กฎหมายเก่าครั้งกรุงศรีอยุทธยาจะมีมาก ด้วยมีพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชผลัดราชบัลลังค์มากถึง ๓๓ - ๓๔ พระองค์ ขึ้นอยู่กับว่าจะนับขุนวรวงศาธิราชเป็นพระมหากษัตริย์หรือไม่ แต่ไม่พบการออกกฎหมายในสมัยขุนวรวงศาธิราช ด้วยครองราชในระยะเวลาอันสั้น และราชบัลลังค์ยังสั่นครอนด้วยเหตุขาดความนับถือจากไพร่พล ตราบจนเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๓๐๑ กฎหมายถูกนำมาเผาทิ้งเสียเป็นจำนวนมาก ที่คงเหลือเป็นรายลักษณ์อักษรมีเพียงส่วนเดียว และกฎหมายส่วนที่เหลือ อยู่ในความทรงจำของผู้มีความรู้ด้านกฎหมาย ได้แก่ ลูกขุน ณ ศาลหลวง พราห์ม และผู้ปกครองที่ได้ศึกษากฎหมาย ต่อมาเมื่อกู้กรุงได้แล้ว จึงได้มีการสอบถามกฎหมายเอาจากผู้รู้กฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่ คือนักกฎหมายในกรุงศรีอยุทธยาเดิมนั่นเอง

ย่อมเป็นธรรมดา เมื่อมีกฎหมายไม่มีลายลักษณ์อักษรเหลืออยู่แล้ว คนย่อมดัดแปลงแต่งกฎหมายเอาตามใจชอบด้วยมนุษย์ยังมีกิเลส ปรารถนาอยากให้กฎหมายเป็นอย่างใจตนอย่างไร ก็กล่าวออกไป มีการบันทึกกฎหมายขึ้นใหม่จาก ปาก ของคนเหล่านั้น

และใช้กฎหมายปากนั้นตลอดมา ไม่พบว่ามีการออกกฎหมายในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจวบจนเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงครองราช เกิดคดีอำแดงป้อมฟ้องหย่านายบุญศรีขึ้น จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้ชำระกฎหมายด้วยกฎหมายนั้นวิปริตผิดซ้ำ ฟั่นเฟือนเป็นอันมาก ปรากฎตามประกาศพระราชปรารภแห่งกฎหมายตราสามดวง ความว่า

อำแดงป้อมภรรยานายบุญศรีฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ให้การแก่พระเกษมว่าอำแดงป้อมนอกใจทำชู้ด้วยนายราชาอรรถแล้วมาฟ้องหย่านายบุญศรี ๆ ไม่หย่า พระเกษมมหาพิจารณาตามคำให้การนายบุญศรีไม่ พระเกษมพูดจาแพละโลมอำแดงป้อม แลพิจารณาไม่เปนสัจไม่เป็นธรรม เข้าด้วยอำแดงป้อม แล้วคัดข้อความมาให้ลูกขุนสานหลวงปฤกษา ๆ ว่าเปนหญิงหย่าชาย ให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากผัวเมียกันตามกฎหมาย จึ่งทรงพระกรรุณาตรัสว่าหญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย ลูกขุนปฤกษาให้หย่ากันนั้นหาเปนยุติ หาเป็นธรรมไม่

จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่ง ให้เจ้าพญาพระคลังเอากฎหมายณสานหลวงมาสอบกับฉบับ หอหลวง และข้างที่

ได้ความว่าชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่าท่านว่าเปนหญิงหย่าชายหย่าได้ ถูกต้องกันทังสามฉบับ จึ่งมีพระราชโองการมานพระบันทูลสูรสิงหนาท ดำรัสว่า

ฝ่ายพุทธจักรนั้น พระไตรยปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์อันสมเดจ์พระพุทธิเจ้าทรงพระมหากรุณาประดิษฐานไว้

ต่างพระองคได้เปนหลักโลกยสั่งสอนบรรพชิตบริษัษยแลฆราวาศบริษัษยได้ประฏิบัดิรู้ซึ่งทางศุคติภูมแลทุคติภูม แลพระไตรยปิฎกธรรมนั้นฟั่นเฟือนวิปริตผิดเพี้ยนไปเปนอันมาก ยากที่จะเล่าเรียนเปนอายุศมพระพุทธสาศนาสืบไป ก็ได้อาราธนาประชุมเชีญพระราชาคณะทังปวง มีสมเดจ์พระสังฆราชแลพระธรรมอุดมพระพุทธโฆษาจารยเปนประธาน ฝ่ายราชบัณทิตยนั้น พญาธรรมปรีชาเปนต้น ให้ทำสังคายนายชำระพระไตรยปิฎกสอบใส่ด้วยอรรฐกะถาฎีกาให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญหญัติ พระไตรยปิฎกจึ่งค่อยถูกถ้วนผ่องใสขึ้นได้ เปนที่เล่าเรียนง่ายใจแก่กลบุตรสืบไปภายหน้า ก็เปนพุทธการกธรรมกองการกุศลอันประเสริฐแล้ว

แลฝ่ายข้างอาณาจักรนี้กระษัตรผู้จดำรงแผ่นดินนั้นอาไศรยซึ่งโบราณราชนิติ กฎหมายพระอายการ อันกระษัตรแต่ก่อนบัญหญัติไว้ ได้เปนบันทัดถาน จึ่งพิภากษาตราสีนเนื้อความราษฎรทังปวงได้โดยยุติธรรม แลพระราชกำหนดบทพระอายการนั้นก็ฟั่นเฟือนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเปนอันมาก ด้วยคนอันโลภหลงหาความลอายแก่บาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจไว้พิภากษาภาให้เสียยุติธรรมสำหรับแผ่นดินไปก็มีบ้าง จึงทรงพระกรรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม จัดข้าทูลลอองทุลีพระบาท ที่มีสะติปัญญาได้ชำระ พระราชกำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวงตั้งแต่พระธรรมสาตรไปให้ถูกถ้วนตามบาฬีแลเนื้อความมิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกันได้ จัดเปนหมวดเปนเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงพระอุตสาหทรงชำระดัดแปลงซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้ ด้วยพระไทยทรงพระมหากรรุณาคุณจให้เปนประโยชน์แก่กระษัตรอันจดำรงแผ่นดินไปในภายหน้า ครั้นชำระแล้วให้อาลักษณชุบเส้นมึกสามฉบับไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้ณสานลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตรา พระราชสีห พระคชสีห บัวแก้ว ทุกเล่มเปนสำคัญ ถ้าพระเกษมรศรีเชีญพระสมุดพระราชกำหนดบทพระอายการออกมาพิภากษากิจคดีใดใด ลูกขุนทังปวงไม่เหนปิดตรา พระราชสีห พระคชสีห บัวแก้ว สามดวงนี้ไซ้ อย่าให้เชื่อฟังเอาเปนอันขาดทีเดียวเมื่อพิจารณาข้อความตามประกาศพระราชปรารภ จะเห็นได้ชัดว่า พระองค์ทรงกำชับว่า การอัญเชิญพระอัยการ (กฎหมาย) มาพิพากษากิจคดีใดๆ ต้องปรากฎตราสามดวงนี้เท่านั้น ถ้าไม่ปรากฎตราสามดวง หรือมิได้อัญเชิญพระอัยการที่ประทับตราสามดวงมาพิพากษากิจคดี อย่าให้เชื่อฟังเป็นอันขาด


ธรรมะปาก

ฝ่ายพุทธจักรนั้น พระไตรยปิฎกแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์อันสมเดจ์พระพุทธิเจ้าทรงพระมหากรุณาประดิษฐานไว้

ต่างพระองคได้เปนหลักโลกยสั่งสอนบรรพชิตบริษัษยแลฆราวาศบริษัษยได้ประฏิบัดิรู้ซึ่งทางศุคติภูมแลทุคติภูม แลพระไตรยปิฎกธรรมนั้นฟั่นเฟือนวิปริตผิดเพี้ยนไปเปนอันมาก ยากที่จะเล่าเรียนเปนอายุศมพระพุทธสาศนาสืบไป ก็ได้อาราธนาประชุมเชีญพระราชาคณะทังปวง มีสมเดจ์พระสังฆราชแลพระธรรมอุดมพระพุทธโฆษาจารยเปนประธาน ฝ่ายราชบัณทิตยนั้น พญาธรรมปรีชาเปนต้น ให้ทำสังคายนายชำระพระไตรยปิฎกสอบใส่ด้วยอรรฐกะถาฎีกาให้ถูกต้องตามพระพุทธบัญหญัติ พระไตรยปิฎกจึ่งค่อยถูกถ้วนผ่องใสขึ้นได้ เปนที่เล่าเรียนง่ายใจแก่กลบุตรสืบไปภายหน้า ก็เปนพุทธการกธรรมกองการกุศลอันประเสริฐแล้วพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชปรารภถึงการเหตุแห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกไว้ว่า พระธรรมนั้นฟั่นเฟือนวิปริตผิดเพื้ยนไปเป็นอันมาก ยากที่จะเล่าเรียน เพราะ พระสัทธรรมของพระบรมศาสดานั้น ต้องสอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งกันเอง เมื่อมีการเผยแผ่พระสัทธรรมโดยไม่แสดงพระไตรปิฎก อันเป็นการเผยแผ่ ธรรมะปาก ทำให้พระสัทธรรมเลือนหาย พระบรมศาสดาตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายให้ทรงจำพระสัทธรรมและนำออกเผยแผ่ตามที่พระองค์ทรงแสดงอย่าให้ผิด อย่าให้เพื้ยน

เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก

ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงาม

ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=3111&Z=3197&pagebreak=0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ปัญญาสูตรเหตุที่พระบรมศาสดาทรงตรัสกำชับเช่นนั้น เพราะทรงเกรงว่า พระสัทธรรมจะเลอะเลือน ด้วยเหตุการแสดงธรรมของพระภิกษุและจะไม่มีผู้ใดทรงจำพระสัทธรรมได้อีกต่อไป แม้พระราชาจะนำเงินมากมายมาให้แก่ผู้ทรงจำพระสัทธรรมได้ก็จะไม่มีผู้ใดมารับเงินนั้นไป

ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์หนึ่งแสน

ลงในผอบทองตั้งบนคอช้าง แล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า

ชนผู้รู้คาถา ๔ บทที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือเอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป

ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียว

ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง

จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไป

ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป.

ราชบุรุษทั้งหลายจึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี

http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=99

กฎหมายปาก และธรรมะปาก เป็นเหตุให้กฎหมายและพระสัทธรรมเลอะเลือนได้ด้วยเหตุดังนี้แล.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น