ไพร่นี้ จะแบ่งออกเป็น ๓ ยุค ได้แก่
๑. ไพร่ยุคสุโขทัย
๒. ไพร่ยุค กรุงศรีอยุธยา
๓. ไพร่ยุคปัจจุบัน
ในสมัยกรุง สุโขทัย พบหลักฐาน หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงคำว่า "ไพร่" ไว้ว่า
ไพร่ฟ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียเข้า ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น
ในปากประตู มีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้
จัดการ ปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียน
จะ เห็นได้ว่า บริบททางสังคมในการปกครองแบบพ่อปกครองลูกนั้น ไพร่ฟ้า หมายถึงประชาชน อยู่ภายใต้การปกครองแบบมีความสุข (หน้าใส หน้าปก) จึงเป็นที่สรุปได้ว่า ไพร่ คือไพร่ฟ้า หรือ สามัญชนผู้เป็นลูกของพ่อขุนรามนั้นเอง
ใน สมัยกรุงศรีอยุธยา เราปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (สมบูรณ์+อาญา+สิทธิ+ราชา) หมายถึงพระราชาเป็นผู้มีสิทธิในการลงโทษโดยสมบุรณ์ ซึ่งต่างจากประชาธิปไตย ที่แบ่งอำนาจออกเป็นสามอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลการ แต่สมบุรณาญาสิทธิราชอำนาจทั้งหมดเป็นสิทธิแก่พระราชา การปกครองเป็นแบบระบบศักดินา ซึ่งแบ่งคนออกเป็นสี่ชนชั้น ได้แก่
๑. เจ้า
๒. ขุน มุนนาย
๓. ไพร่
๔. ทาส
ชนชั้นเจ้านั้น ได้แก่ ผู้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลงมาจนถึง หม่อมเจ้า ต่ำกว่านี้เช่น มรว. มิใช่เจ้า
ชนชั้นขุน มุนนาย ได้แก่ มุขอำมาตย์ทั้งหลาย ที่เรียกว่าอำมาตย์นั่นเอง คำนำหน้านามเป็นไปตามยศศักดิ์ สำหรับผู้หญิงเป็นไปตามความใหญ๋โตของสามี เช่น แม่พลอย ใช้คำนำหน้านามว่า แม่ เพราะสามีเป็นอำมาตย์ระดับล่าง พอเติบโตหน่อย ก็เปลี่ยนเป็น คุณพลอย พอสามีคือคุณเปรมเติบโตมาก ก็เปลี่ยนเป็น คุณหญิงพลอย มีศักดินาตามลำดับ ตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป
ชน ชั้นไพร่ ได้แก่ ประชาชนทั้งหลาย ที่ต้องทำงานรับใช้อำมาตย์แบบเข้าเดือนออกเดือน คือทำงานให้อำมาตย์หนึ่งเดือน กลับมาอยู่ทีบ้านตนหนึ่งเดือนเป็นเช่นนี้ไปจนครบปี ไพร่ใดไม่อยากเอาตัวเข้าทำงานรับใช้อำมาตย์ ก็สามารถส่งส่วยแทนตัวได้ เรียกว่าไพร่ส่วย คำนำหน้านามสำหรับ ช. คือ นาย สำหรับหญิงคือ อำแดง มีศักดินา ๒๕ ไร่ และทุกคนต้องมีมุนนายคอยดูแลให้ความปลอดภัย
ชนชั้น ทาส คือ ผู้จำหน่ายตั๋วเข้ารับใช้นายเงิน มีศักดินา ๕ ไร่ ใช้คำนำหน้านามว่า ไอ้ อี
ไพร่ในยุคที่สาม คือ ไพร่ในยุคปัจจุบัน สืบเนื่องจากการเลิกทาส และการแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ ระบบศักดินาจึงหายไป ศักดินามีไว้เพื่อประโยชน์ในการปรับไหมด้วย เช่นถ้าเราทำร้ายไพร่ กับทำร้ายทาส เราจะต้องเสียไหมให้ไพร่สูงกว่าทาส เพราะไพร่มีศักดินาที่สูงกว่าทาส เมื่อแก้กฎหมาย ระบบศักดินาจึงหายไปและไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์เรื่องการกำหนดค่าเสียหายอีก เลย
ไพร่ในยุคนี้จึงหมายถึง สันดานไพร่ หมายถึง ผู้มี กริยาวาจา ไม่งดงาม หยาบคาย ก้าวร้าว เป็นต้น
คำว่า สันดาน มิใช่คำหยาบคาย เป็นคำที่ปรากฎพบในกฎหมายปัจจุบัน ตาม ปพพ. ม. ๑๖๒๙ คำว่า "ผู้สืบสันดาน"
ผู้สืบสันดาน หมายความว่า เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากบุพการีโดยตรง
คำว่า สันดานไพร่ จึงหมายความว่า เป็นผุ้สืบเชื้อสายไพร่มาจากบุพการีโดยตรง
คำๆ นี้ อยู่ตรงข้ามกับคำว่า สันดานผู้ดี มิใช่ตรงข้ามกับคำว่าอำมาตยแต่อย่างใด
ปัจจุบัน ข้าราชการทำงานรับใช้ประชาชน มิใช่ประชาชนรับใช้ข้าราชการ ปัจจุบัน อำมาตยจึงรับใช้ไพร่ มิใช่ไพร่รับใช้อำมาตย์
พฤติกรรมของไพร่ในสมัยกรุงศรีฯ คือ ไม่มีสิทธิคิด ไม่มีสิทธิพูด ทำตามคำสั่งอย่างเดียว การที่แกนนำ นปช.สั่งแล้ว ไพร่ทั้งหลายทำตาม อันนั้น คือเขาทำพฤติกรรมแบบไพร่ที่มีต่อมุนนายหรือไม่ เพราะผู้เขียนเห็นเหมือนมากทีเดียวที่ไพร่พึงปฏิบัติต่อมุนนายเช่นนั้น สั่งให้ทำคือต้องทำ
ไพร่แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
- ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานตามที่ราชการกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์จะแบ่งให้ไปทำงานในกรมหรือกองต่างๆ เข้าเวรทำงานตามเวลาที่ถูกกำหนด คือ 6 เดือนต่อปี (เข้าเดือนออกเดือน)
- ไพร่ส่วย หมายถึง ไพร่ที่ส่งเงินหรือสิ่งของมาแทนตัวของไพร่แทนการทำงานเพื่อชดเชย อาจเนื่องจากอยู่ไกลจากเมืองหลวง เข้ามารับราชการไม่สะดวก ตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีการส่งเงินมาแทนแรงงานมากขึ้น เงินที่ส่งมานี่เรียกว่า เงินค่าราชการ เก็บในอัตราเดือนละ 2 บาท หรือปีละ 12 บาท
- ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่ขึ้นต่อขุนนางและข้าราชการต่างๆ เพื่อทำงานรับใช้โดยตรง ไพร่นี้จะตกเป็นของมูลนายนั้นจนกว่ามูลนายจะถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง แต่บุตรของมูลนายเดิมมีสิทธิยื่นคำร้องของควบคุมไพร่สมนี้ต่อจากบิดาก็ได้
สิทธิ ทั่วไปของไพร่ เช่น ไพร่จะอยู่ภายใต้สังกัดของมูลนายคนใดคนหนึ่ง ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไพร่ไม่สามารถย้ายสังกัดได้นอกจากมูลนายของตนจะยินยอม ที่ดินของไพร่สามารถสืบทอดไปยังรุ่นต่อไป แต่ถูกจำกัดสิทธิในการย้ายที่อยู่ และต้องขึ้นทะเบียนตามภูมิลำเนาของตน เป็นต้น หลังจากที่เข้าเวรทำงานครบ 6 เดือนแล้ว สามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวเพื่อประกอบอาชีพในครอบครัวได้อิสระ เว้นแต่ในยามสงคราม
ผู้เขียนไปพบในเวบนี้ แต่ยังมีส่วนที่ไม่ถูกต้องของข้อมูล "หลังจากที่เข้าเวรทำงานครบ 6 เดือนแล้ว สามารถกลับไปอยู่กับครอบครัวเพื่อประกอบอาชีพในครอบครัวได้อิสระ" ผู้เขียนเรื่องนี้ คงจะหมายถึง การทำงานให้นายครบ ๖ เดือนติดต่อกันแล้วกลับบ้านได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือ เข้าเวรหนึ่งเดือน แล้วออกไปอยู่บ้านหนึ่งเดือน เช่นนี้ไปเรื่อยๆ
ไพร่ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไพร่ลักษณะใด ผู้หญิงจะใช้คำนำหน้านามว่า อำแดงทั้งสิ้นค่ะ น้องฟาง เช่น อำแดงป้อม ปรากฎตามประกาศพระราชปรารภในหลวง ร.๑ และอำแดงเหมือน ปรากฎตามประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ แม้เราไม่เห็นตัว ก็รู้ว่า ป้อม เป็น ญ ถ้าใช้ นายป้อม เราจะรู้ว่า ป้อมเป็น ช.
มาอ่านคับ ซีอ่ะ
ตอบลบเคยอ่านแล้วค่ะ...ในซาหนุก อิ อิ
ตอบลบ