วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

รอการประหาร



รอการประหาร คืออะไร ทำใมเมื่อศาลพิพากษาแล้วไม่ประหารเสียที ค้างประหารเป็นร้อยชีวิต  

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ประหารชีวิต จะประหารทันทีไม่ได้ จะต้องมีการขอพระราชทานอภัยโทษเว้นโทษประหารไปยังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

๑. ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยพระราชทานอภัยโทษเว้นโทษตายให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต นักโทษจะได้ถอดตรวนและใช้ชีวิตอย่างปกติเหมือนมนุษย์ทั่วไป ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอย่างหนึ่งของพระองค์ตามหลักพุทธศาสนา

๒. ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยให้ฎีกาตกไป ซึ่งก็หมายถึงไม่พระราชทานอภัยโทษนั่นเอง ส่วนมากที่ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษจะเป็นคดีค้ายาบ้าประเภทมากๆ เป็นแสนๆ เม็ด เมื่อฎีกาตก ก็สามารถนำไปประหารได้ ที่เหลือคือรอความพร้อมในการประหารซึ่งเป็นเวลาอันนับถอยหลังแล้ว

๓. พระเจ้าอยู่หัวยังไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยก็ต้องใส่ตรวนรอต่อไป จะประหารเลยไม่ได้

๔. พระเจ้าอยู่หัวยกฎีกา แต่นักโทษวิกลจริต เพราะกลัวจนเป็นบ้า ต้องรักษาจนกว่าจะหายแล้วจึงประหาร ถ้ารักษาแล้วไม่หายภายใน ๑ ปี ให้ลดโทษเหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต

๕. พระเจ้าอยู่หัวยกฎีกา แต่จำเลยเป็นหญิงมีครรภ์ ให้รอจนคลอดและบุตรอดนมก่อนจึงจะแยกบุตรออกไปแล้วประหารชีวิตได

นัทถามว่า คนที่มีความคิดให้ประหารทันทีทราบเรื่องราวพวกนี้แค่ไหน และมีเมตตาเหลืออยู่ในใจหรือไม่ หรือคิดจะก้าวข้ามพระบรมราชวินิจฉัย และถ้าบอกว่า ไม่มีพระบรมราชวินิจฉัยเสียที ขอถามว่ามันกงการอะไรของเราต้องไปสนใจ นักโทษคนนั้น ยังไงก็ใส่ตรวนอยู่ในคุก ตกลงเราอยากให้คนตายหรืออยากบังคับโทษให้เป็นไปตามกฎหมายด้วยความยุติธรรมกันแน่

การพระราชทานอภัยโทษ




การอภัยโทษคืออะไร มีที่มาอย่างไร

การอภัยโทษ คือการบำเพ็ญพระราชกุศลของพระราชา มีมาแต่ก่อนพุทธกาล ในพระไตรปิฎกก็ปรากฎ ในประเทศไทยมีมาเป็นหลายร้อยปี 

แบ่งเป็นการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะรายยกเว้นโทษตาย (โทษประหาร) กับการอภัยโทษเป็นการทั่วไป ซึ่งมีเงื่อนไขมากมายกว่านักโทษจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ 

เมื่อการอภัยโทษเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระราชา ผู้ซึ่งขัดขวางการบำเพ็ญกุศลนั้นจึงคือคนบาป เป็นโจรปล้นบุญ เพื่อนสมาชิกบางคนนัทยุติการคบหาทั้งๆ ที่คบกันมานาน เพราะกึ่งมิจฉาทิฏฐิว่าการฆ่าคนผิดแม้บาปก็ยอมรับ และมีเจตนาขัดขวางบุญของผู้อื่นอย่างชัดเจน นัทไม่คบหาคนประเภทนี้

เมื่อการอภัยโทษมีมานานขนาดนี้ แล้วเรา เด็กปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมจะล้มล้างจารีตที่ชอบโดยธรรม และเป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะความไม่พอใจส่วนตัวในคดีเดียว มันถูกหรือ ?

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมเราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้ เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”

ภัททาลิสูตร ม. ม. (๑๖๕)
ตบ. ๑๓ : ๑๖๗ ตท.๑๓ : ๑๔๕
ตอ. MLS. II : ๑๑๑