วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำพิพากษาฎีกาที่ 13819-13820/2555 คดีแรงงาน เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คดีแรงงานฎีกาน่าสนใจ วิเคราะห์โดยครูนัท 

ฎีกาที่ ๑๓๘๑๙-๑๓๘๒๐/๒๕๕๕

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลย จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคดีที่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิทางแพ่งโดยเฉพาะ มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องโดยอาศัยมูลความผิดทางอาญา แม้จำเลยจะให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ลักเงิน ๔๐ บาท อันเป็นการกระทำความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ และโจทก์ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดธัญบุรีก็หาเป็นเหตุทำให้คดีของโจทก์กลับกลายเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แต่อย่างใดไม่

กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่ระบุว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา มาบังคับใช้แก่คดีนี้ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดโดยที่ศาลแรงงานมิได้รอผลของคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลจังหวัดธัญบุรีเสียก่อน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย คำพิพากษาของศาลแรงงานที่ให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จึงชอบแล้ว

วิเคราะห์ฎีกา

กรณีคดีนี้ ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้าง จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคดีที่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในคดีแรงงานแล้วว่า ลูกจ้างมิได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง ศาลแรงงานจึงพิพากษาให้นายจ้างรับผิดต่อลูกจ้าง แม้ว่าศาลแรงงานจะไม่ได้รอผลคำพิพากษาคดีอาญาที่นายจ้างกล่าวอ้างและฟ้องลูกจ้างเป็นคดีลักทรัพย์อีกคดีหนึ่งก็เป็นการชอบแล้ว

ด้วยเหตุเพราะ

๑. ความปรากฏชัดแก่ศาลแล้วว่า ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง

๒. กรณีตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่บัญญัติให้คำพิพากษาส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาส่วนอาญาแต่อย่างใด

ครูนัท


กรณีจึงไม่อาจนำ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่ระบุว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา มาบังคับใช้แก่คดีนี้ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดโดยที่ศาลแรงงานมิได้รอผลของคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลจังหวัดธัญบุรีเสียก่อน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย คำพิพากษาของศาลแรงงานที่ให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ จึงชอบแล้ว

วิเคราะห์ฎีกา

กรณีคดีนี้ ลูกจ้างเป็นโจทก์ฟ้องนายจ้าง จ่ายค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคดีที่ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน และกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานวินิจฉัยตามพยานหลักฐานในคดีแรงงานแล้วว่า ลูกจ้างมิได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง ศาลแรงงานจึงพิพากษาให้นายจ้างรับผิดต่อลูกจ้าง แม้ว่าศาลแรงงานจะไม่ได้รอผลคำพิพากษาคดีอาญาที่นายจ้างกล่าวอ้างและฟ้องลูกจ้างเป็นคดีลักทรัพย์อีกคดีหนึ่งก็เป็นการชอบแล้ว

ด้วยเหตุเพราะ

๑. ความปรากฏชัดแก่ศาลแล้วว่า ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดทางอาญาต่อนายจ้าง

๒. กรณีตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน ไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.อาญา มาตรา ๔๖ ที่บัญญัติให้คำพิพากษาส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาส่วนอาญาแต่อย่างใด

ครูนัท